เมนู

และบูชาของบุคคลอื่นเป็นต้น อันใด) ความว่า การริษยาใดที่มีลักษณะขึงเคียด
ในสมบัติของผู้อื่น ในสิ่งทั้งหลายมีลาภเป็นต้นของชนเหล่าอื่นนั่นว่า ลาภเป็น
ต้นเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไร ด้วยบุคคลนี้.
ในพระบาลีนั้น บทว่า ลาโภ (ลาภ) ได้แก่ การได้เฉพาะปัจจัย
4 มีจีวรเป็นต้น จริงอยู่ บุคคลผู้ริษยา ย่อมขึงเคียดลาภนั้น ของบุคคลอื่น
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ประโยชน์อะไร ด้วยลาภนี้แก่บุคคลนี้ ดังนี้.
บทว่า สกฺกาโร (สักการะ) ได้แก่ การได้ปัจจัยเหล่านั้นนั่นแหละ
ที่ดีอันบุคคลทำดีแล้ว. บทว่า ครุกาโร (การทำความเคารพ) ได้แก่ กิริยา
ที่ยกย่องคือ การกระทำให้เป็นภาระ. บทว่า มานนํ (การนับถือ) ได้แก่
การกระทำให้เป็นที่รักด้วยใจ. บทว่า วนฺทนํ (การไหว้) ได้แก่ การไหว้
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์. บทว่า ปูชนา (การบูชา) ได้แก่ การบูชาด้วยของ
หอมและดอกไม้เป็นต้น. ที่ชื่อว่า อิสฺสา (การริษยา) ด้วยอำนาจกิริยาที่ไม่
อยากให้คนอื่นได้ดี อาการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี ชื่อว่า อิสฺสายนา (กิริยา
ที่ริษยา) ภาวะที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี ชื่อว่า อิสฺสายิตตฺตํ (ความริษยา).
การกีดกันเป็นต้นเป็นคำไวพจน์ของการริษยา. บัณฑิตพึงทราบลักษณะแห่ง
ความขึ้งเคียดของการริษยานี้โดยบุคคลผู้ครองเรือนบ้าง ผู้ไม่ครองเรือนบ้าง.

ว่าด้วยลักษณะการริษยา 2 อย่าง


จริงอยู่ ฆราวาสบางคนอาศัยความเพียรกระทำอย่างบุรุษ ของตนด้วย
อาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งในการงานทั้งหลายมีการทำนาและค้าขายเป็นต้น ย่อม
ได้ยานพาหนะหรือรัตนะที่ดี อีกคนหนึ่ง มีความปรารถนาให้บุคคลนั้นเลื่อม
ลาภ ไม่ยินดีด้วยการได้ลาภของบุคคลนั้น คิดแต่ว่า เมื่อไรหนอ เจ้าคนนี้